วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2550

สื่อมวลชน

สื่อมวลชน
หมายถึง สื่อที่ใช้ในการนำข่าวสารใดๆ ไปสู่ประชาชนหรือมวลชน ประชาชนสามารถรับข่าวสารได้โดยการชมการดู หรือการอ่าน ประเภทของสื่อมวลชนได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร ภาพยนตร์ เป็นต้น
สื่อมวลชนมีบทบาทหน้าที่อะไรบ้าง
การสื่อสารเป็นกระบวนการของการที่จะมีการแลกเปลี่ยนข่าวสารกันระหว่าง 2 ฝ่ายเพื่อจะนำความรู้ ความคิด ทัศนคติร่วมกันหรือพฤติกรรมร่วมกัน การสื่อสารจึงมีความสำคัญต่อชีวิต ต่อสังคม ต่อประเทศชาติและต่อโลก ผลของการสื่อสารคือการทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในด้านความรู้ทัศนคติ และพฤติกรรมที่เกิดขึ้นหลังจากมีการสื่อสาร จึงควรนำผลของการสื่อสารมาปรับปรุงการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพ บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนคือการเผยแพร่ข่าวสารสาระสำคัญที่มีประโยชน์ต่อประชาชนและสังคม ตัวอย่างเช่น หนังสือพิมพ์ควรลงข้อความข่าวที่มีความถูกต้องไม่ใช่ต้องการขายข่าวเพียงอย่างเดียว ควรพิจารณาถึงความถูกต้องที่ผู้บริโภคข่าวสารจะได้เนื้อหาสาระที่ถูกต้อง
สื่อมวลชนมีอิทธิพลต่อสังคมมากที่สุดในปัจจุบันคือ เพราะอะไร
เพราะปัจจุบันสื่อบางประเภทสร้างขึ้นโดยมนุษย์ มีการบรรจุสารที่ชี้นำค่านิยม ทัศนคติที่ ผ่านสื่อส่งไป ยังผู้รับสาร ซึ่งเกือบทั้งหมดมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างผลกำไร การศึกษาเรื่องเท่าทันสื่อนอกจากการวิจารณ์สื่อได้แล้ว ยังต้องสามารถนำข้อวิเคราะห์มาใช้ในการป้องกันตัวเองได้ เพราะรักษาสิทธิในการสื่อสารของเรา ให้สื่อสารได้อย่างสร้างสรรค์ เพื่อเพิ่มอำนาจให้ประชาชนสื่อมวลชนกับสังคม นับว่ามีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกันมาก จนแยกไม่ออกว่าสิ่งใด เป็นความต้องการของสังคม สิ่งใดเป็นความต้องการของสื่อมวลชน แต่คำสองคำนี้จำเป็น ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน การสื่อสารมวลชนในปัจจุบันนับว่ามีพัฒนาการที่ก้าวไกลด้วยเทคโนโลยียุคสังคมโลกาภิวัตน์ ทั้งความรวดเร็วสูง ปริมาณข้อมูลมหาศาล ไม่จำกัดระยะทาง เวลา ส่วนสังคมเองจำเป็นต้องเรียนรู้สื่อมวลชนในอันที่ จะนำสื่อมวลชน มาใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิต ไม่ใช่เป็นเพียงการบริโภคสื่อไปตามทิศทางที่สื่อกำหนด เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้สังคมจะต้องช่วยกันสอดส่องพัฒนาสื่อมวลชนให้มีคุณภาพ เพื่อนำสื่อมวลชนมาพัฒนา สังคมและประเทศ ชาติได้ เนื้อหารายวิชาของสื่อมวลชนกับสังคม ประกอบด้วยความหมายความสำคัญของ สื่อมวลชน สื่อมวลชน เบื้องต้น บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชน อิทธิพลของสื่อมวลชน ความรับผิดชอบของสื่อมวลชน จรรยาบรรณของ สื่อมวลชน การควบคุมสื่อมวลชน สื่อมวลชนกับการพัฒนาประเทศ และการรับใช้สังคม
SMS มีผลดีผลเสียกับสังคมอย่างไร
มีทั้งประโยชน์และโทษ
ถ้ามองในด้านดี ก็ต้องบอกว่า เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้รับสื่อได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น ได้ส่งข่าวสาร ความรู้ ความเป็นอยู่ในแต่ละพื้นที่ เช่น ส่งผ่านหน้าจอโทรทัศน์หรือสถานีวิทยุ
ส่วนที่มองในแง่ไม่ดีคือ เป็นช่องทางให้กลุ่มบุคคลที่มีความคิดแตกต่างกัน ได้แสดงความคิดเห็นตอบโต้ผ่าน sms ได้
การนำสื่อมวลชนมาใช้ในการศึกษา จะเกิดประโยชน์กับการศึกษา หรือการเรียนการสอนอย่างไรบ้าง
สื่อมวลชนเปรียบเสมือนครู ที่ให้การศึกษาแก่ประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ให้ทั้งความรู้ทางวิชาการใหม่ๆ และเจตคติในด้านต่างๆ ซึ่งถือได้ว่ามีความเป็นจริงอย่างมากในสังคมปัจจุบัน เนื่องจากสื่อมวลชนต่างๆ ได้แสดงบทบาทหน้าที่ทางด้านการศึกษาให้เห็นอย่างเด่นชัดสื่อมวลชนเปรียบเสมือนเป็นโรงเรียนข้างเคียง ที่สามารถให้การศึกษาควบคู่ไปกับการศึกษาในระบบโรงเรียน
1กระตุ้นความสนใจการรับความรู้ข่าวสารจากสื่อมวลชน เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นตามความพอใจ ของแต่ละบุคคล แตกต่างจากการเรียนในห้องเรียนที่มีครูบังคับควบคุม ดังนั้นสื่อมวลชนจึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะผลิตและนำเสนอความรู้ข่าวสาร ให้มีความน่าสนใจ สามรถทำให้คนตั้งใจรับได้นานที่สุด ความสามรถในการกระตุ้นความสนใจของสื่อสารมวลชนแต่ละประเภทมีระดับที่แตกต่าง
2 ความเข้าใจเรื่องราวสื่อมวลชนโดยทั่วไป จะเสนอความรู้ข่าวสารที่ผู้รับสามารถรับรู้ และเข้าใจโดยง่าย โดยอาศัยเทคนิควิธีการต่างๆ คือ
- แบ่งเนื้อหาออกเป็นตอนๆ นำเสนอทีละน้อย และใช้เวลาสั้น
- ใช้ภาษาง่ายๆ สำหรับคนทุกระดับ
- ดัดแปลง แต่งเติม ย่อ ขยาย
- สร้างสิ่งจำลองหรือจินตนาการ
- ใช้ความรู้ความสามารถและทักษะของผู้ดำเนินการ
- ถ่ายทอดเรื่องราวชัดเจนตรงตามความจริง
3 อิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงเจตคติจุดประสงค์ทางการศึกษา ต้องการให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ทั้งด้านความรู้ความจำ ด้านทักษะและความรู้สึกภายในจิตใจ ประสิทธิภาพของสื่อมวลชนนอกจากจะสามารถทำให้เกิดความรู้ความจำและทักษะได้ดีแล้ว ยังมีอิทธิพลอย่างสูงต่อการเปลี่ยนแปลงเจตคติ ความเชื่อ ค่านิยมของบุคคล
สรุป
สื่อมวลชนเป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อทุกคน